วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี จัดตั้งขึ้นตามโครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกวิชาชีพ ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาการศึกษาที่ 5 โดยกระทรวงศึกษาธิการมอบให้กรมอาชีวศึกษารับผิดชอบ โครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกวิชาชีพ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2522 รัฐบาลไทยกู้ยืมเงินธนาคารโลกมาพัฒนาการศึกษาในโครงการนี้ 98.96 ล้านบาท และเงินสมทบจากงบประมาณแผ่นดินอีก 137.84 ล้านบาท ให้ดำเนินการจัดตั้งขึ้น เขตการศึกษาละ 1 ศูนย์ รวม 12 ศูนย์ 5 ปี แบ่งเป็น 3 ระยะ ศูนย์ฝึกวิชาชีพปัตตานีอยู่ระยะที่ 1 พ.ศ.2522-2524 วัตถุประสงค์เพื่อให้บริการการเรียนการสอนวิชาชีพตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายทั้งของรัฐบาลและเอกชนในเวลาราชการ และบริการหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นแก่ประชาชนผู้สนใจ ตั้งแต่เวลา 17.00 – 20.00 น. เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพให้กว้างขวางออกไปสู่ภูมิภาค เป็นการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม และประเทศชาติอย่างเต็มที่
กรมอาชีวศึกษา เดิมซึ่งปัจจุบันเป็น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อนุมัติใช้พื้นที่ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี เป็นสถานที่ก่อสร้างศูนย์ฝึกวิชาชีพปัตตานี มีพื้นที่ประมาณ 13 ไร่ ด้วยเงินงบประมาณ 18,036,261 บาท ทั้งนี้ไม่รวม ค่าสิ่งก่อสร้างวิชาการเกษตร ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ เป็นศูนย์ขนาดเล็กสามารถบริการการเรียน การสอนได้คราวเดียวกัน 9 ห้องเรียน รับนักเรียนได้ 700 คน ต่อมาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2533 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศยกระดับฐานะให้ศูนย์ฝึกวิชาชีพเป็น “วิทยาลัยการอาชีพ” ทั่วประเทศขยายบทบาทเปิดสอนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
การคมนาคม
ห่างจาก ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ประมาณ 1 กิโลเมตร
ห่างจาก กรุงเทพมหานคร ประมาณ 1,050 กิโลเมตร
ขนาดพื้นที่และสภาพพื้นที่
จำนวน 13 ไร่
สภาพชุมชน
มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
องค์กรแห่งการเรียนรู้คู่คุณธรรม มุ่งผลิตผู้สำเร็จการศึกษา อาชีวศึกษาให้ได้มาตรฐาน
สอดคล้องความต้องการกำลังคน ในการพัฒนาประเทศ
อัตลักษณ์
“เป็นคนดี มีจิตอาสา วิชาชีพเด่น”
เอกลักษณ์
“หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน บริการวิชาชีพสู่ชุมชน บนพื้นฐาน สังคมพหุวัฒนธรรม”
ฝีมือเลิศ ประเสริฐน้ำใจ วินัยเคร่งครัด มัธยัสถ์และซื่อตรง
จุดเด่น
“วิชาชีพเด่น เน้นบริการ สาขางานทันสมัย”
จุดเน้น
“สร้างคนดี มีทักษะ พัฒนานวัตกรรม”
สีเขียว คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เจริญงอกงามนำความรุ่งเรืองสดใสมาสู่กระแสเชี่ยวที่ไหลเวียนอยู่โดยรอบในทางจิตวิทยา สีเขียวเป็นสีของธรรมชาติ ความอุดม-สมบูรณ์เมื่อมองดูจะให้ความรู้สึกสดชื่นของธรรมชาติ ดูเหมือนว่าสีเขียวจะแทนธรรมชาติที่ดี ๆ โดยรวม สีเขียวช่วยบำบัดความเคร่งเครียดได้ไม่ว่าจะเป็นการประดับตกแต่งสถานที่ด้วยต้นไม้ก็จะส่งผลไม่ต่างกัน
สีทอง คือ สีที่แสดงถึงความมั่งคั่ง มั่งมี อบอุ่น เป็นมิตร สร้างสรรค์ หรือนักคิดค้น ประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ อิสระ ความเมตตา และการมองโลกในแง่ดี
ดอกทองหลาง
ดอกไม้ประจำวิทยาลัยฯ : ดอกปาริชาติ
ชื่อสามัญ : Coral Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina crista – galli
ตระกูล : PAPILIONACEAE
ความหมายของดอกปาริชาติ
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นปาริชาติไว้ประจำบ้านจะทำให้มีทองมาก มีความร่ำรวย เพราะทองหลางเป็นไม้มงคล นาม คือ มีทองมากมายหลากหลาย นอกจากนี้ปาริชาติใบสีทองยังมีความสวยงาม ดุจประกายทองสีเหลือง เรืองรองดูดาดตาและโบราณยังมีความเชื่ออีกว่าถ้านำใบปาริชาติไปใช้เป็นเครื่องประกอบในพิธีสำคัญทางศาสนาจะทำให้เกิดสิริมงคลยิ่งขึ้น เช่น พิธีปลูกบ้าน พิธีแต่งงาน และยังเชื่ออีกว่า ต้นปาริชาติเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ปลูกบนสวรรค์ในสมัยพุทธกาล จึงได้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ต้นประวาลพฤกษ์หรือต้นทองหลาง